วันอาทิตย์, เมษายน 28, 2024
Travel

ฮาลาบาลา: หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา9

ท่องเที่ยวผืนป่า ฮาลาบาลา หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา9 หมู่บ้านท่องเที่ยวกลางหุบเขา ดินแดนใต้สุดของประเทศไทย เดินป่าฮาลาบาลา แช่น้ำตกฮาลาซะห์ ล่องเรือคลองน้ำใส 2 วัน 1 คืน.. ที่นี่เคยเป็นกลุ่มคนคอมมิวนิสต์ ที่ถูกคุกคามจากชาวมาลายามา ดั้นด้นหาพื้นที่หลบมาจนถึงปี พ.ศ.2532 ได้เริ่มก่อตั้งหมู่บ้านในดินแดนฝั่งประเทศไทย หลังจากนั้นได้รับพระกรุณาจากสมเด็จเจ้าฟ้าฯ จุฬาภรณ์ ทรงรับเข้าโครงการ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ชุมชนหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 9” จนมาถึงปัจจุบัน และผืนป่า ฮา-ลา-บา-ลา ถูกขนานนามว่าเป็น Amazon of Asia เป็นแหล่งโอโซนขนาดใหญ่ของภาคใต้ ฮาลาบาลา ฮาลาบาลา

หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา9 เปิดเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวตั้งแต่ปี 2533 เริ่มแรกนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นชาวจีนมาเลเซียที่มาศึกษาประวัติศาสตร์ของ “พรรคคอมมิวนิสต์มลายา” ซึ่งหากใครสนใจแต่ฮาลาบาลาต้องสนใจประวัติศาสตร์ เพราะมีเส้นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผืนป่าฮาลาบาลาโดยตรง

โปรแกรม DAY 1

12.00 น. เจอกันที่หมู่บ้านฯ ฟัง Brief และทานข้าวเที่ยง

13.00 น. นั่ง 4×4 ไปจุดเดินป่าฮาลาบาลา

13.30 น. เริ่มเดินป่า ไปยังน้ำตกฮาลาซะห์

15.30 น. ไปยังท่าเรือหมู่บ้านฯ

16.00 น. ล่องเรือหางยาวไปยังอ่างน้ำใส

19.00 น. ทานข้าวเย็น

20.00 น. พักผ่อน หรือหากฟ้าเปิด สามารถถ่ายดาวได้

เดินทางถึงหมู่บ้านหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา9 ประมาณเที่ยงตามที่น้องน้องหลินปิงนัดพวกผมไว้ ถึงหมู่บ้านก็มีอาหารเตรียมไว้ให้เราได้ชิมกันเลย อาหารจะเป็นอาหารท้องถิ่น เป็นคนในหมู่บ้านเวียนๆกันมาทำอาหารให้นักท่องเที่ยว เพื่อเป็นการกระจายรายได้ให้กับชาวบ้าน

หลังจากที่อิ่มท้อง น้องๆไกด์ก็พาเรามาเข้าพักที่เรือนพัก

ดินป่าฮาลาบาลา

#เดินป่าฮาลาบาลา ช่วงบ่ายๆน้องฉี พาเรานั่งรถเข้าไปที่จุดเริ่มเดินป่า ป่าฮาลาบาลายังคงความอุดมสมบูรณ์ และสวยงาม มีร่องรอยของสัตว์ป่าที่อาศัยให้เห็นอยู่อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นกระทิง ช้าง หมูป่า และที่นี่มี ทาก เพียบเลย บ่งบอกได้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่านี้ พรรณไม้ต่างๆก็มีเยอะ น้องๆไกด์มีความรู้ทุกคน สอบถามได้เลยครับ

หมู่บ้านแห่งนี้ก็อยู๋ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลาครับ เป็นพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งหนึ่งในประเทศไทย ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างของประเทศ เป็นผืนป่าที่ประกอบไปด้วยผืนป่าสองผืน คือ ป่าฮาลา ในพื้นที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา และอำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส และ ป่าบาลา ในพื้นที่อำเภอแว้ง และอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส แม้ป่าทั้งสองผืนนี้จะไม่ได้ติดเป็นป่าผืนเดียวกัน แต่ทว่าในปี พ.ศ. 2539 ได้มีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าร่วมกัน

ซึ่งคำว่า “บาลา” มาจากคำว่า “บาละห์” ที่แปลว่า “หลุด” หรือ “ปล่อย” มีที่มาจากช้างเชือกหนึ่งที่หนีเข้าป่าฝั่งอำเภอแว้ง และคำว่า “ฮาลา” หมายถึง “อพยพ” คือผู้คนที่อพยพย้ายถิ่นฐานมาจากตัวเมืองปัตตานีในอดีต จนมาอาศัยอยู่เป็นชุมชนรอบ ๆ ชายป่า โดยป่าแห่งนี้อาจเรียกชื่อสลับกันได้ว่า บาลา-ฮาลา ผู้คนที่อยู่ในอำเภอแว้งจะเรียกว่า “บาลา-ฮาลา” แต่คนที่อาศัยในอำเภอเบตงจะเรียกว่า “ฮาลา-บาลา” สรุปคือ สามารถวางสลับกันได้

น้ำตกฮาลาซะห์

#เล่นน้ำตกฮาลาซะห์ จุดหมายปลายทางของการเดินป่าฮาลาบาลา มาถึงก็นั่งพักชิลๆ เคลียทากที่ขาให้เรียบร้อย พร้อมถ่ายภาพชิลๆ เล่นน้ำตกให้หายเหนื่อย

น้ำตกฮาลาซะห์ เป็นน้ำตกที่มีความสูงประมาณ 100 เมตร เหมาะแก่การดูนกเงือก ชมใบไม้สีทอง ศึกษาวิถีชีวิตชนเผ่าซาไก นอกจากนี้บริเวณพื้นที่ใกล้เคียงยังมีน้ำตกจิ้งจก น้ำตกกิตติโชควัฒนา น้ำตกจุฬาภรณ์พัฒนาฯ น้ำตกบ้านเก้า อาคารพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์โจรจีนคอมมิวนิสต์ มลายาและโป่งดินที่สัตว์ลงมาหากินอีกด้วยนะ ซึ่งน้องๆ บอกว่าตัวน้ำตกมีอยู่สามชั้น ชั้นที่สวยที่สุดคือชั้นที่สอง แต่ไม่อนุญาตให้ขึ้นไป เพราะอันตรายมาก

หลังจากเดินป่าจบ น้องๆพาพวกเราไปพักกันที่ 7-11 แห่งเดียวของหมู่บ้าน นั่นก็คือร้านขายของชำที่มีที่เดียวในหมู่บ้านนี่แหละ 555+ ได้ซื้อเครื่องดื่มเย็นๆ ดื่มคลายร้อน พักเหนื่อยได้ดีเลยครับ

คลองน้ำใส

#ล่องเรือชมป่าฮาลาบาลาปลายทางที่คลองน้ำใส ช่วงเวลาเย็นๆ นั่งรถไปที่จุดลงเรือ “ท่าเรือคลองทราย” ล่องเรือบอกเลยว่าบรรยากาศดีมาก ปลายทางของเราคือ คลองน้ำใส เป็นต้นน้ำที่ไหลออกมาจากป่าฮาลาบาลา น้ำใสไหลเย็น เล่นน้ำที่โคตรฟิน และระหว่างล่องเรือกลับถ้าโชดดีได้เห็น “นกเงือก” ที่กำลังบินกลับรัง พร้อมพระอาทิตย์ที่กำลังลับขอบฟ้า บรรยากาศสุดๆไปเลยครับ

อาหารเย็นของเราวันนี้ อร่อยอีกแล้ว

กลางคืนที่นี่มืดมาก ดาวเต็มฟ้าเลยครับ

โปรแกรมเที่ยว DAY 2

05:30 เดินทางไปยังจุดเดินเท้าขึ้นผาหินโยก

06:00 เดินขึ้นถึงผาหินโยก

08:00 ทานอาหารเช้า

09:00 ชมอาคารประวัติศาสตร์และเรียนรู้ประวัติชุมชน

10:00 กลับบ้านได้

ทะเลหมอกผาหินโยก

 #ทะเลหมอกผาหินโยก ตื่นแต่เช้าไปออกกำลังกายกันหน่อย ระยะทางประมาณประมาณ 800 เมตร ใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที ต้องบอกก่อนว่าเส้นทางทางชันและชันขึ้นเรื่อยๆ แต่ไม่ได้เหนื่อยมาก กำลังดีๆ ขึ้นมาไฮไลท์จะอยู่ที่ “หินโยก” เฮ้ย!มันโยกได้จริงๆ ไม่หล่นด้วย และถ้าใครพกดวงมาด้วยจะได้พบกับทะเลหมอก ซึ่งเกิดได้แทบทุกวัน เรียกว่าใครมาไม่เจอหมอกที่ซวยนะ 555+

อาหารเช้า จัดเต็มอีกเหมือนเดิม

พิพิธภัณฑ์คอมมิวนิสต์

 #ชมพิพิธภัณฑ์คอมมิวนิสต์ ที่รวบรวมประวัติศาสตร์ เรื่องราวในอดีตของสถานที่ ผู้คนในชุมชนแห่งนี้ รวมถึงอุปกรณ์ข้าวของต่างๆ จากอดีต ที่ถูกเก็บรักษาเพื่อให้ลูกหลานคนรุ่นหลัง ได้รำลึกถึง เรียนรู้ 

เรื่องมันย้อนไปไกลตั้งแต่ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง เดิมชุมชนที่นี่คือคอมมิวนิสต์มาลายา ระหว่างนั้นก็เกิดลัทธินาซีในเยอรมัน และฟาสซิสต์ในอิตาลีและญี่ปุ่น จนเกิดสงครามโลกครั้งที่สองนั่นเอง เหตุการณ์ไม่สู้ดีเท่าไหร่เนื่องจากกองทัพญี่ปุ่นบุกสิงคโปร์จนลามมายึดครองมาเลเซีย ซึ่งในตอนนั้นคอมมิวนิสต์มาลายา ได้ร่วมกับรัฐบาลอังกฤษต่อต้านจักรพรรตินิยมญี่ปุ่นได้สำเร็จ ใช้เวลานานกว่า 3 ปี 8 เดือน

จากนั้นรั๙บาลอังกฤษจึงมอบเหรียญ “The Oder Of The British Empire” ให้แก่นายเฉินผิงผู้นำคอมมิวนิสต์มาลายา ณ กรุงลอนดอน เหมือนว่าจะดี แต่แม่งเหตุการณ์กลับกัน ในเวลาต่อมาอังกฤษดั้นกลับมายึดครองมาลายาเป็นอาณานิคมเหมือนเดิม แต่ก็ยังให้การรับรองว่าคอมมิวนิสต์มาลายาเป็นพรรคการเมืองที่ถูกกฏหมายอยู่ แต่คือเข้าใจปะว่า ก็สู้มาด้วยกัน จู่ๆ มายึดกูอีกรอบ มันก็ต้องมีคนคิดต่างกันบ้าง

และความตอแหลของการเมืองก็เกิดขึ้น เมื่อรัฐบาลสหพันธรัฐมาเลเซียภายใต้อังกฤษ ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินให้โค่นล้มและยกเลิกพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศ ตอนนั้นมีการจับกุมและกวาดล้างกันครั้งใหญ่ แต่คือก่อนหน้านี่จากการที่กลุ่มคอมมิวนิสต์ถูกหักหลัง ก็ได้มีการจัดตั้งกองทัพประชาชนมาลาขึ้น โดยลักษณะเป็นกองกำลังใต้ดินเพื่อต่อต้านอังกฤษไว้ส่วนหนึ่งแล้ว หลังเหตุการณ์กวาดล้างจบลง จึงมีมติที่ประชุมของพรรคคอมมิวนิสต์มาลายาที่เหลืออยู่เพื่อต่อต้านอังกฤษตั้งแต่แรก ได้เปลี่ยนมาจัดตั้งกองทัพปลดปล่อยประชาชาติมาลายาสามพวกใหญ่ๆ คือ

  • กลุ่มบุคคลร่วมมือกับอังกฤษต่อต้านพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา
  • กลุ่มบุคคลร่วมมือกับพรรคคอมมิวนิสต์มาลายาสู้เพื่อเอกราช
  • กลุ่มบุคคลเดินตามแนวทางของซูกาโน่ ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย รวมมือกับกับพรรคคอมมิวนิสต์มาลายูต่อสู้เพื่อเอกราช

จึงเกิดสงครามกันใหญ่โตหลังจากนั้น และถอยร่นเข้ามาในประเทศไทย เพราะถูกกวาดล้านอย่างหนัก และเพื่อดเป็นการรักษากองกำลังที่เหลืออยู่ไม่ให้ถูกทำลาย จึงต้องอาศัยตัวอยู่กลางป่าฮาลาบาลาเพื่อความปลอดภัยของเผ่าพันธุ์

ในช่วงนั้น แม้แต่เด็กและผู้หญิงก็ต้องจับปืน แม้จะใช้ยังไม่เป็น ก็ต้องจับไว้เผื่อเวลาที่ใครมารุกราน จนในช่วงหนึ่งตั้งหลักได้ และได้เพิ่มกองกำลังนักรบโดยการประกาศรับสมาชิกเพิ่มจากชายแดนไทยและมาเลย์ แต่ก็นั่นแหละ ด้วยความที่คิดไม่ถี่ถ้วน พอรับเข้ามาก็ไม่รู้ว่าใครเป็นหนอนบ่อนไส้ เกิดการแตกหักภายใน และรั่วไหลของแหล่งข่าว จนทำให้ฝั่งอังกฤษรู้ที่อยู่ของกลุ่มคอมมิวนิสต์ สูญเสียกำลังพลไปมาก และเกิดการแยกตัวของผู้นำฝ่ายต่างๆ ทั้งสามทันที

บางกลุ่มที่ยังอยู่จึงต้องรับศึกรอบด้าน จากรัฐบาลสหพันธรัฐบาลมาเลเซียภายใต้อังกฤษก็มี ฝั่งรัฐบาลไทยก็ไม่น้อยหน้า จึงทำให้พวกเขาต้องทำอาวุธยุทโธปกรณ์ใช้เอง ทั้งสิ่งพิมพ์ การรักษา รวมถึงอุปกรณ์สื่อสาร พวกเขาก็ต้องทำกันเอง ผมมองว่าเก่งมากๆ เลยนะ

เหตุการณ์ผ่านไปเรื่อยๆ จนสถานการณ์โลกเปลี่ยนไป คอมมิวนิสต์จีนตัดการสนับสนุนกับทุกด้าน นึ่งทำให้สงครามครั้งนี้สงบศึก และในปี 1989 หรือ พ.ศ.2332 มีการเจรจาสันติภาพร่วมกัน โดยใช้แนวนโยบาย 66/23 เนื้อหามีอยู่ว่า ทางพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา จะยุติการต่อสู้ด้วยกองกำลังติดอาวุธ มีการสลายกองกำลัง ทำลายอาวุธ เพื่อยกเลิกสงครามนั่นเอง

ปัจจุบันยังมีอาม่าอากงและคนรุ่นหลังที่ยังมีชีวิตจริงๆ ในช่วงสงครามอาศัยอยู่ในหมู่บ้านแห่งนี้ครับ เราก็ได้แต่หวังให้ลูกร้านของท่านทั้งหลาย รักบ้านเกิด และสืบสานเจตจำนงของคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ ให้รู้รักรู้ปกป้องแผ่นดินและสัญชาติอันที่ไม่ได้มาง่ายๆ แห่งนี้อย่างนี้ไว้นานเท่าที่จะนานได้ แม้จะมีบางครอบครัวย้ายออกไปบ้างแล้วก็ตาม

ติดต่อไกด์ชุมชนนำทาง : https://www.facebook.com/Chulaborn9/

TEL: หลินปิง 097-1175567

Location : ฮาลาบาลา หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 9 อ.ธารโต จ.ยะลา

#ฮาลาบาลา#ยะลา#ชุมชนท่องเที่ยวจุฬาภรณ์พัฒนา9#กรมการพัฒนาชุมชน#LocalAlike

Leave a Response